แหล่งการเรียนรู้ "สวนงู
สถานเสาวภา สภากาชาดไทย"
ประวัติความเป็นมา
สวนงูจัดตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2466 โดยผู้อำนวยการคนแรกของสถานเสาวภา
ซึ่งเป็นนายแพทย์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ ดร.เลโอโปลด์ โรแบรต์
ได้ตระหนักถึงปัญหาการถูกงูพิษกัดคนและสัตว์เลี้ยง แล้วไม่มีเซรุ่มแก้พิษงูมารักษา
เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข
จึงได้ทำการจัดตั้งสวนงูแห่งนี้ขึ้นและสวนงูแห่งนี้ยังเก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสวนงูที่ประเทศบราซิล
ในปี 2472 พระบรมวงศานุวงศ์ 4 พระองค์ ประกอบด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ, จอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์, กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ และ
พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
ร่วมด้วยพระประยูรญาติและมิตรได้ประทานเงินให้แก่สภากาชาดไทย ตั้งเป็นทุนชื่อว่า “ทุน ๔ มะเสง” ทรงอนุญาตให้สภากาชาดไทยแบ่งเงินจากทุนนี้ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างตึกสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์พิษชนิดต่าง
ๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีงูทะเล เป็นต้น
รวมทั้งยังให้สร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บสัตว์ทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษเพื่อให้ประชาชนที่สนใจได้ศึกษาอีกด้วย
สภากาชาดไทยได้อำนวยการสร้างตึกหลังนี้ขึ้นและขนานนามว่า “ตึก ๔ มะเสง”
ต่อมาตึก ๔
มะเสงนั้นมีขนาดเล็กและทรุดโทรมจึงได้รื้อถอนและสร้างเป็นตึก 5 ชั้น โดยงบประมาณจากรัฐบาลและสภากาชาดไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จฯเปิดเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551 ตึก ๔ มะเสง
นี้ใช้เป็นพื้นที่แสดงนิทรรศการสำหรับงูพิษชนิดสำคัญ ๆ
รวมทั้งงูไม่มีพิษที่มีประโยชน์และน่าสนใจ และงูที่สวยงามทั้งงูบกและงูน้ำจืด
การจัดแสดงเป็นการเลี้ยงงูที่จำลองจากธรรมชาติจริง ๆ ของงูแต่ละชนิด
วัตถุประสงค์
เพื่อใช้เลี้ยงงูพิษไว้รีดพิษ สำหรับผลิตเป็นเซรุ่มแก้พิษงู สวนงู สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ได้จัดงานบริการสำหรับประชาชน นักท่องเที่ยว
หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ
โดยมุ่งเน้นการบริการทางด้านวิชาการเกี่ยวกับงู
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
รายละเอียดการเดินทาง
ที่อยู่ : 1871 ถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร.02-252-0161-4,
เว็บไซต์ : www.redcross.or.th
เวลาเปิด-ปิด :
จันทร์-ศุกร์ 8.30 น.-16.30 น., เสาร์-อาทิตย์
และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 8.30 น. - 12.00 น.
การเดินทาง :
รถประจำทาง: สาย 4,
16, 21, 45, 46, 47, 50, 67, 74, 76, 109, 115, 141 ปอ.4, 507
รถไฟฟ้าใต้ดิน : สถานีสามย่าน ออกทางประตู 2 แล้วเดินต่อไปอีกนิด ทางที่จะไปสวนลุมพินี
รถส่วนตัว : จอดภายในสถานเสาวภา
รถไฟฟ้าใต้ดิน : สถานีสามย่าน ออกทางประตู 2 แล้วเดินต่อไปอีกนิด ทางที่จะไปสวนลุมพินี
รถส่วนตัว : จอดภายในสถานเสาวภา
ลักษณะการนำเสนอเนื้อหาในแหล่งการเรียนรู้
ภายนอก
วิทยากรจะออกมาอธิบายเกี่ยวกับงูเป็นภาษอังกฤษและภาษาไทยหลังจากนั้นจะมีการโชว์งูแต่ละชนิดมีทั้งงูมีพิษ
ไม่มีพิษ
ส่วนงูที่สามารถพ่นพิษได้จะไม่นำมาเสนอเนื่องจากอาจเกิดอันตรายได้ละนอกจากนั้นยังสาธิตวิธีการจับงูที่ถูกต้อง
ภายในตึก ๔ มะเสง
มีการจัดนิทรรศการสำหรับงูพิษชนิดสำคัญ
ๆ ที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญทางสาธารณสุขในประเทศไทย
รวมทั้งงูไม่มีพิษที่มีประโยชน์และน่าสนใจ และงูที่สวยงามทั้งงูบกและงูน้ำจืด
การจัดแสดงเป็นการเลี้ยงงูที่จำลองจากธรรมชาติจริง ๆ ของงูแต่ละชนิด
มีการนำเสนอที่เป็นรายละเอียดทางวิชาการของงูแต่ละชนิดในด้านถิ่นที่อยู่ อาหาร
และอันตรายจากพิษ
งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง
งูเห่าหรืองูเห่าหม้อ
งูจงอาง
การนำเสนอด้านสื่อความรู้เรื่องวิวัฒนาการของงู
จากสัตว์ ดึกดำบรรพ์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับงู การแสดงองค์ประกอบต่าง ๆ
ของงู (แสดงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในของงู) หนังงู โครงกระดูกงู ภายในส่วนนิทรรศการนี้ยังมีภาพยนตร์แสดงการออกฤทธิ์ของพิษงูต่อมนุษย์หรือสัตว์
การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องเมื่อถูกงูพิษกัด
และยังมีห้องที่ใช้สาธิตการปฐมพยาบาลให้ผู้เข้าชมได้ฝึกการทำปฐมพยาบาลกับหุ่นขนาดเท่าตัวมนุษย์จริง
ลักษณะแผลจากการถูกงูกัด |
คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับงู |
การนำแหล่งการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา
จากการเข้าชมแหล่งการเรียนรู้ที่สวนงู
สามารถนำสื่อต่างๆที่จัดแสดงในสวนงูนี้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนชีววิทยาในเรื่อง
สัตว์มีกระดูกสันหลังโดยสามารถชี้เฉพาะในส่วนของสัตว์เลื้อยคลาน ให้เห็นถึงองค์ประกอบต่าง
ๆ ของงู อวัยวะส่วนต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในของงู เช่น กะโหลก ฟัน เกล็ดงู
ระบบย่อยอาหารของงู
นอกจากนั้นยังสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตประเภทนี้ว่ามีการดำรงชิวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด
และมีวงจรชีวิตอย่างไร ซึ่งสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดต่างก็มีการดำรงอยู่ที่เหมือนและแตกต่างขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ
ข้อเสนอแนะ
1.ภายในอาคารจัดแสดงนิทรรศการควรที่จะมีวิทยากรเข้ามาดูแลภายใน
เนื่องจากบางครั้งผู้เข้าชมอาจมีข้อสงสัยจะได้ซักถามได้
2.ในการสาธิตการรีดพิษงูควรจะมีรอบการแสดงทั้งเช้าและบ่ายเนื่องจากบางครั้งผู้เข้าชมอาจมาไม่ทันได้ชมการสาธิตการรีดพิษงูจึงทำให้ได้ความรู้ไม่ครบถ้วน
3.ควรมีผู้ดูแลสื่อภายในอาคารที่จัดแสดงเนื่องจากมีสื่อบางชนิดที่ชำรุดไม่สามารถเรียนรู้ได้
รูปถ่ายกับแหล่งการเรียนรู้ที่ได้ไปสำรวจ
ขอบคุณครับที่ให้ความรู้ เหมือนได้ไปดูด้วยตัวเอง ^ ^
ตอบลบเป็นแหล่งการเรียนรู้ ที่น่าสนใจมาก เหมาะสำหรับพาเด็กนักเรียนไปทัศนศึกษา
ตอบลบน่าสนใจมากค่ะ ต้องหาเวลาไปชมแหล่งการเรียนรู้นี้บ้างแล้ว
ตอบลบเป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจ อยากเห็นตอนรีดพิษงูจัง^^
ตอบลบนอกจากมีงูให้ดูแล้ว ยังได้ความรู้เกี่ยวกับพิษของมันด้วย *0*
ตอบลบสอนเด็กเรื่องการพิษเซรุ่ม การรีดพิษงูอะไรได้หลายอย่างเลยนะเนี่ย
ตอบลบน่าไปค่ะ แถวบ้านงูเยอะจะได้รู้ถึงการป้องกันและรักษา
ตอบลบเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมาก ได้รู้เกี่ยวกับพิษของงูแต่ละชนิด และยังได้รู้จักสายพันธุ์ของงูชนิดต่างๆ ที่เราไม่เคยเห็นอีกด้วย
ตอบลบเป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจมาก เป็นความรู้ที่ควรมีติดตัวไว้
ตอบลบอ๊อยยย กลัวงู TT
ตอบลบถ้าไปแล้วคงได้รู้จักงูเพิ่มขึ้นอีกหลายชนิดที่ไม่เคยเห็น
ตอบลบเพิ่งรู้ว่ามีสวนงูด้วย...ปกติต้องไปสวนสัตว์ถึงจะได้เห็น
ตอบลบขอบคุณมากนะค๊ะสำหรับคอมเม้นเพื่อนๆ^^
ตอบลบพึ่งรู้ว่ามีสวนงูด้วยนะเนี่ย น่าไปมากๆเลย
ตอบลบอยากโดนงูฉก
ตอบลบน่าสนใจทีเดียว แต่สำหรับคนที่กลัวงู คงต้องคิดหนัก ว่าจะไปดีหรือปล่าว แหะๆ^^
ตอบลบชอบที่มีงูให้ดูหลายสายพันนี่เหละ ไปแล้วได้อะไรมากกว่าแค่ชื่อแหะ เจ๋งวะ
ตอบลบ